การประชุมออนไลน์ Kickoff Meeting โครงการ SATREPS (แหนเป็ด)

  เมื่อวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.00 น. ณ ห้องประชุมกองวิเทศสัมพันธ์ ชั้น 10 อาคารสารนิเทศ 50 ปี ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในการประชุมออนไลน์ Kickoff Meeting โครงการ SATREPS (แหนเป็ด) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. สุตเขตต์ นาคะเสถียร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ รองศาสตราจารย์ ดร. อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมประชุมและนักวิจัย เพื่อนำเสนอ ประกอบด้วย Mr. Takahiro Morita, Chief Representative of Japan International Cooperation Agency (JICA), G2 Duckweed/Microbes Holobionts (Ekraphan Kraichak), G4-1 Biofuel: Methane (Pairaya Choeisai), G4-2 Bioplastics (Rangrong Yoksan), G4-3 Animal Feed (Chanwit Kaewtapee), G4-4 Functional Food (Suvimol Charoensiddhi) G5 Waste Water Treatment & GHG (Chart Chiemchaisri), G6 Social Implementation (Metha Meetam), และกล่าวการปิดการประชุมออนไลน์ Kickoff Meeting โครงการ SATREPS (แหนเป็ด) โดย Professor Masaaki Morikawa, Hokkaido University จากนั้นที่ประชุมได้ถ่ายรูปร่วมกันเพื่อเป็นที่ระลึก

  ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับทุน SATREPS 2020 ในหัวข้อเรื่อง Development of the Duckweed Holobiont Resource Values towards BCG Economy ร่วมกับ Professor Masaaki Morikawa, Hokkaido University ภายใต้การสนับสนุนของ Japan International Cooperation Agency (JICA) และ Japan Science and Technology Agency (JST) โครงการได้ผ่านการลงนาม Record of Discussion (R/D) ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ Japan International Cooperation Agency (JICA) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกำหนดให้มีการประชุมออนไลน์ Kickoff Meeting โครงการ SATREPS (แหนเป็ด) ขึ้น

  โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา duckweed อย่างบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. และทีมวิจัยและพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น ทำการพัฒนา project ร่วมกัน ในระยะดำเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่ เดือน ก.ค. 2021 ถึง มิ.ย. 2026 พื่อทำสร้างนวัตกรรมและการพัฒนา duckweed และจุลินทรีย์ร่วมอาศัยกับ duckweed ให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในทุกด้านทั้ง อาหารฟังก์ชัน (Functional food) พลังงาน การบำบัดน้ำเสีย อาหารสัตว์ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร ประชาชน และเอกชนที่พร้อมจะพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการ duckweed และจุลินทรีย์ร่วมอาศัย ในอนาคต

facebooktwittergoogle_plus